723 Views |
6 สารอาหาร ที่ช่วยป้องกันข้ออักเสบ
อาหารส่งผลต่อสุขภาพคนเราอย่างมาก ซึ่งหมายถึงมีผลต่อการดูแลปกป้องข้อต่อด้วยเช่นกัน
กล้ามเนื้อและเอ็นในร่างกายคนเราจะค่อยๆ เสื่อมตามกาลเวลา เช่นเดียวกับที่เราไม่สามารถห้ามไม่ให้กระดูกพรุน เมื่อคนเราเข้าสู่อายุ 35 ปี มวลกระดูกจะลดลงร้อยละ 1 ทุกปี หลังเข้าสู่อายุ 50 ปี มวลกระดูกจะลดลงร้อยละ 3-5 ทุกปี ในเพศชายอาจลดลงร้อยละ 3 และหญิงสาวหลังหมดประจำเดือนอาจลดลงร้อยละ 5 อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่นี่เป็นเพียงตัวเลขคร่าวๆ เท่านั้น ความจริงจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
การกินอาหารที่ช่วยลดการอักเสบของร่างกายจำนวนมาก ๆ จะมีส่วนช่วยป้องกันข้ออักเสบได้ 6 สารอาหารและอาหารที่มีประโยชน์ต่อข้อนั้นมีอะไรบ้าง
1. โอเมกา 3 วันละ 1 กรัม
จัดเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารอื่น ๆ เช่น ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผักใบเขียว เป็นต้น ปริมาณที่แนะนำในการรับประทาน เช่น เมล็ดลินิน 2 ช้อน (3.2 กรัม), วอลนัต ¼ ถ้วย (2.27 กรัม)
2. วิตามินดี วันละ 200IU
วิตามินดี นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพของกระดูกแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในโรคอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า วิตามินดี สามารถลดอาการของข้ออักเสบประเภทโรคข้อรูมาตอยด์ได้ร้อยละ 30 เลยทีเดียว ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน คือ 200 IU เทียบเท่ากับ ปลาซาร์ดีน 80 กรัม หรือนมสดไขมันต่ำ 2 ถ้วย
3. วิตามินซี วันละ 90 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของ วิตามินซี มีบทบาทกว้างขวางในหลายระบบได้แก่ Hydroxylation ของ prolin เพื่อสร้างcollagen ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ กระดูก กระดูกอ่อน ฟันและผนังเส้นเลือด , ฤทธิ์ฆ่าเชื้อของเม็ดเลือดขาว, การ reduce เหล็กจาก ferric เป็น ferrous ในกระเพาะอาหาร ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเหล็ก , antioxidant เป็นต้น การบริโภควิตามินซีที่ให้ผลดีต่อข้อต่อ ควรทานอาหารที่มีวิตามินซีปริมาณ 90 มิลลิกรัม เช่น หอยนางรม / ตับวัว ปริมาณ 300 กรัม หรือกะหล่ำดอก ปริมาร 300 กรัม สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ควรได้รับวิตามินซี จากอาหาร 1,500-2,500 มิลลิกรัม/วัน
4. ซีลีเนียม วันละ 55 ไมโครกรัม
ซีลีเนียมเป็นเกลือแร่ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ทำงานร่วมกับวิตามิน E ในการป้องกันเยื่อหุ้มเซลล์จากการถูกทำลาย ลดการอักเสบ ช่วยรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพื่อให้การดูแลข้อมต่อได้ผลดี ในอาหารแต่ละวันควรทานอาหารที่มีซีลีเนียมให้ได้วันละ 55 ไมโครกรัม เทียบเท่าปริมาณอาหาร เช่น ผลไม้เปลือกแข็ง 3-4 ชิ้น หรือ ปลาทูน่า 90 กรัม เป็นต้น
5. เควอร์ซิทิน (Quercetin)
เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระสูงมาก สูงกว่าวิตามินซีและวิตามินอีเสียอีก และยังป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและลดการอักเสบ ส่วนใหญ่สารนี้จะอยู่ในผักและผลไม้ เช่น หอมแดง แอปเปิล (เปลือก) องุ่นแดง บรอกโคลี ส้ม ราสเบอร์รี่ แครนเบอร์รี
6. สาร EGCG
คือสารโพลีฟีนอลที่ได้จากการสกัดชาเขียวที่ยังไม่ผ่านกระบวนการหมักบ่ม ซึ่งมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง ทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง ช่วยขับสารพิษ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ปริมาณที่แนะนำ คือ ชาเขียว 3-4 แก้ว
www.cosmebazaar.com